วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

ความหมายของการประชาสัมพันธ์


ขอบคุณภาพจาก : Olive


นักประชาสัมพันธ์ทุกคนนอกจากต้องการให้คนอื่นๆ รู้จักและเข้าใจบทบาทในการเป็นนักประชาสัมพันธ์ของเราแล้ว (ไม่ใช่พนักงานต้อนรับ หรือพนักงานให้ข้อมูล) นักประชาสัมพันธ์มืออาชีพควรอธิบายถึงความหมายของการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการจำแนกความหมายระหว่างประชาสัมพันธ์ โฆษณา ตลอดจนงานที่นำเอาการประชาสัมพันธ์ไปประยุกต์ใช้ด้วย ซึ่งวันนี้ผมจะมาเล่าความหมายของคำต่างๆ เหล่านี้ แบบให้เข้าใจง่ายๆ กันครับ



ความหมายของการประชาสัมพันธ์ (Meaning of Public Relations)

ประชาสัมพันธ์ (Public Relations) หมายถึง งานที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นข้อเท็จจริงน่าเชื่อถือขององค์กร สินค้า หรือบริการ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และภาพลักษณ์อันดี ระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) โดยการสื่อสารผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ 

ความหมายของการประชาสัมพันธ์มีหลักการจำง่าย ๆ คือ

ประชา (Public) + ความสัมพันธ์ (Relations) = ประชาสัมพันธ์ คือ ความสัมพันธ์ กับ ประชาชน

โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวก็คือการอาศัย การสื่อสาร เป็นตัวกลางในการเข้าถึงประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขององค์กร นั่นเอง

ขอบคุณภาพจาก : Thornleyfallis

นอกเหนือจากความหมายของการประชาสัมพันธ์ นักประชาสัมพันธ์ควรรู้จักความหมายของโฆษณา และความแตกต่างระหว่างความหมายของการประชาสัมพันธ์และโฆษณาด้วย

ความหมายของโฆษณา (Meaning of Advertising)

โฆษณา (Advertising) หมายถึง งานที่เผยแพร่ข้อมูลเพื่อชักจูงใจในเรื่องที่เกี่ยวกับองค์กร สินค้า หรือบริการ กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ โดยผ่านช่องทางในการโฆษณาตามสื่อต่างๆ  

จากความหมายของทั้งสองคำจะเห็นได้ว่า ประชาสัมพันธ์ และโฆษณา เหมือนกัน ในลักษณะของ "การสื่อสาร" แต่แตกต่างกัน เนื่องจาก "การประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นการสื่อสารข้อเท็จจริง แต่โฆษณา มุ่งเน้นการสื่อสารเพื่อจูงใจ ซึ่งอาจไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด แต่สื่อเพื่อหวังผลในลักษณะชวนเชื่อ ที่สำคัญโฆษณาต้องใช้ "เงิน" ในขณะที่ ประชาสัมพันธ์ อาจใช้เพียง "ความสัมพันธ์อันดี" ที่มีอยู่ ระหว่างนักประชาสัมพันธ์และสื่อมวลชน ก็เพียงพอแล้ว" 

----------------------------------------------------------------------------------------------

หากใครมีคำถามเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์สามารถสอบถามมาได้ที่ bearytutor@gmail.com
หรือหากบริษัทฯ หรือผู้ใดต้องการผู้บรรยายให้ความรู้ วางแผนการประชาสัมพันธ์ เขียนข่าวประชาสัมพันธ์ เขียนคอลัมน์ประชาสัมพันธ์ ทางเราก็ยินดีให้บริการโดยนักประชาสัมพันธ์มืออาชีพ ราคาพิเศษ โดยติดต่อมาที่ 085 934 1130 Line : bearytutor หรือส่งตัวอย่างงานมาพิจารณาได้ที่ bearytutor@gmail.com



 

รับจ้างทำวิจัย ให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ ประมวลผลด้วยโปรแกรม spss amos คีย์แบบสอบถาม ด้วยนักวิชาการมืออาชีพ



Beary Research (แบรี่ รีเสิร์ช) รับจ้าง ให้คำปรึกษา สอน จัดทำ สารนิพนธ์ (IS) ทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) รับทำวิจัย เชิงสังคมศาสตร์ วิจัยธุรกิจ คีย์ข้อมูล คีย์แบบสอบถาม ประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS วิเคราะห์ T-Test, F-Test (One way - ANOVA), Chi-square ฯลฯ ด้วยทีมงานมืออาชีพ รวดเร็ว ราคาถูก การันตีคุณภาพงาน 

อัตราค่าบริการของเรา 


1. รับคีย์ข้อมูล เพื่อเตรียมลงโปรแกรม SPSS เริ่มต้นที่ชุดละ 10 บาท (แล้วแต่จำนวนข้อคำถามครับ) 

2. รับประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม
SPSS เหมาเริ่มต้นเพียง 1,000 บาท 

*** ไม่รวมออกแบบและเก็บข้อมูลแบบสอบถามนะครับ *** 

3. รับจ้าง ทำวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ ให้คำปรึกษา จัดทำ Proposal งานวิจัย จัดทำบทที่ 1 - 3 เริ่มต้นที่ 10,000 บาท จัดทำแบบสอบถาม แบบสอบถามออนไลน์ คีย์แบบสอบถาม

4. 
รับจ้าง ทำวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ ให้คำปรึกษา จัดทำบทที่ 4 วิเคราะห์และประมวลผลการวิจัย เริ่มต้นที่ 4,000 บาท

4.
รับจ้าง ทำวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ให้คำปรึกษา จัดทำบทที่ 5 สรุปผลการวิจัย เริ่มต้นที่ 4,000 บาท 

5. รับจ้าง จัดทำ บทคัดย่อ ไทย / อังกฤษ เขียน บทความงานวิจัย ไทย อังกฤษ ราคาพิเศษ 

*** ทั้ง 6 ข้อ อยู่ที่ความยากง่ายและกระบวนการวิจัย


เหมาทำ วิจัย ทั้งหมดคิดในราคาพิเศษครับ 

พร้อมรับแบบสอบถาม ในเขตกรุงเทพมหานคร (ตามตกลง) 

นอกจากนี้ หากใครต้องการทำวิจัยด้วยตนเอง เราก็มีบริการ ติว การทำวิจัย และการใช้งานโปรแกรม SPSS ครับ ติวกันถึงที่เลย 

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ ทำวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ ได้ที่ 
โทร : 085 934 1130 
Line id : bearytutor 
E-mail : bearytutor@gmail.com 
FB : www.facebook.com/bearyresearch 
website : https://www.bearyresearch.com

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ชีวิตการทำงานของ PR (อย่างผม)



เหลือบตามองนาฬิกาพบว่า 12.00 พอดีเป๊ะ! หลายๆ คนคงกำลังเดินแสวงหาอาหารกลางวัน อย่างเบียดเสียดยัดเยียด ส่วนผมอะเหรอ?....ได้รับความกรุณาจากพี่ธุรการประจำกองงาน หาอาหารมาให้รับประทานเป็นที่เรียบร้อย พอดีวันนี้ใช้พลังงานจากสมองอันน้อยนิดเยอะไปหน่อย เลยทำให้หิวไว แถมโชว์มั่น คว้าห่ออาหารมารับประทานตั้งแต่ 11.30 น. อย่างไม่แคร์ใคร (เพราะใครคงไม่แคร์เราเช่นกัน...หุหุหุ) เวลาเที่ยงวันก็เลยสำราญ และว่างพอที่จะมาอัพบล็อกพรรณา ชีวิต PR ให้เพื่อนๆ ได้ฟังกันได้

วิชาชีพ PR หากแบ่งออกเป็นประเภทของหน่วยงานง่ายๆ คงแบ่งได้ว่าเป็น PR ของรัฐและเอกชน ผมผ่านงานเอกชนมาแล้วอย่างโชกเลือด เอ้ย โชกโชน เลยลองเปลี่ยนทิศทางชีวิตมาลองทำงานเป็น PR ของหน่วยงานภาครัฐดูบ้าง พบว่ามันก็สนุกดีแหะ! (เหรอ?)

ความเหมือนของการทำ PR ระหว่างองค์การทั้งสองประเภทก็คือ เราต้องทำหน้าที่สื่อสารเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจอันดีระหว่างองค์การ กับประชาชน (หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) หากแต่ความต่างมันอยู่ที่ ภาคเอกชน มักทำ PR เพื่อผลกำไร (แน่นอน ต้องมีอะไร Return กลับมาบ้าง ทั้งในรูปตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ได้ภาพลักษณ์ ได้เป็นที่รู้จัก เป็นต้น) และ PR ภาคเอกชนมักสังกัดอยู่กับแผนก หรือฝ่ายการตลาด แต่สำหรับภาครัฐ PR ก็คือ PR เราจะต้องทำ PR เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน ถ่ายทอดนโยบาย ข่าวสาร ไม่ค่อยเน้นเรื่องรายได้ แต่จะเน้นที่ความเป็นที่รู้จัก ภาพลักษณ์ และผลสัมฤทธิ์จากการประชาสัมพันธ์ เช่น การรณรงค์ลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังก็คือเหตุการณ์อุบัติเหตุที่ลดลง เป็นต้น (เห็นไหม ไม่ได้เงินสักกะบาทเลยนะ)



แต่ไม่ว่าจะทำ PR ที่ไหน งานที่ได้รับมอบหมายก็สนุกไม่แพ้กัน เจ้านายแต่ละที่ นโยบายแต่ละองค์การก็ไม่เหมือนกัน เพราะงาน PR มีหลายแขนง บางองค์การมีส่วนงานพิธีกรและนางแบบเป็นของตนเอง เวลาที่ไปจัดอีเวนท์ที่ไหน พวกเธอทั้งหลายก็จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนขององค์การ เป็นพิธีกรจ๊ะ จ๋า เรียกความสนใจและให้ความรู้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชมงาน เรียกได้ว่าพริตตี้ตกงานกันเป็นแถวๆ เพราะงานลักษณะนี้จะเน้นที่บุคลิกภาพและหน้าตาเป็นหลัก รองลงมาก็คือความมั่นใจ ไหวพริบ และความสามารถในการสื่อสาร จึงทำหน้าที่พิธีกรได้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นบุคลากรประจำขององค์การ จึงมีความรู้และถ่ายทอดข่าวสารต่างๆ ได้อย่างดีมีประสิทธิภาพกว่า

แต่งานหลักๆ ที่คิดว่าทุกองค์การน่าจะมีเห็นจะเป็น งานข่าว งานสื่อมวลชนสัมพันธ์ งานโฆษณา งานภาพลักษณ์องค์การ งานผลิตและตัดต่อ งานอะไรๆ ก็ตู (อันนี้นอกเรื่องนะครับ....ออกแนวบ่น 55) ซึ่งมักจะมีการสลับสับเปลี่ยนกันได้ เพื่อความหลากหลายและดูว่าเราเหมาะสมกับงานไหน ใครฉายความเป็น Specialist ด้านใดออกมา ก็อาจจะสามารถฝังตัวอยู่งานนั้นๆ ได้อย่างยาว ยาวววววว ได้ (นอกจากจะเบื่อ หรือเจองานที่ใหม่ที่ดีกว่าไปเสียก่อน)

การทำงานทุกงานจึงต้องมีใจรักและสนุกกับมันนะครับ อย่างจะให้ผมนั่งทำตัวเลขทั้งวันบนหน้าจอ Excel ก็คงจะเฉาตายเป็นแน่ แต่ถ้าจะให้คนที่ขี้อายไปกระโดดขึ้นเวทีเป็นพิธีกร หรือคนที่ชอบงานช่างมานั่งเขียนข่าว ก็อาจจะไหลตายได้เช่นเดียวกัน (เนอะ) เพราะฉะนั้นเราจึงควรเลือกงานให้เหมาะกับความชอบ กับทักษะ ความสามารถ เป็นดีที่สุดเนอะ ^^

พร่ามเสร็จเผลอเหลือบดูนาฬิกาอีกรอบเที่ยงครึ่งพอดี ของีบสักครึ่งชั่วโมงเติมแรงก่อน แล้วมีอะไรดีๆ จะแวะมาพรรณาให้ฟังใหม่อีกที...นะครับ